วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สื่อการเรียนการสอน

ความหมายของสื่อ
                สื่อ หมายถึง เครื่องมือที่เป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสารกัน สื่อถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางนำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร เพราะว่าการี่ผู้ส่งสารต้องการส่งสารออกไปยังผู้รับแต่ไม่มีสื่อ การสื่อสารนั้นย่อมไม่เกิดขึ้น

            ความสำคัญของสื่อ
       1. เป็นเครื่องมือส่งเสริมเด็กให้กล้าแสดงออกและเกิดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ
       2. เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่า นิยม หรือทักษะของผู้สอนไปสู่ผู้เรียน
       3. เป็นเครื่องมือเร้าความสนใจของเด็กให้ติดตามเรื่องราวด้วยความสนใจและไม่เกิดความรู้สึกว่าเป็นการ เรียน
       4. เป็นเครื่องมือทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม และผู้เรียน ได้รับประสบการณ์ตรงทำให้จำได้นาน
 
สื่อสำหรับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
                หมายถึง สิ่งมีชีวิต  วัตถุสิ่งของ ปรากฏการณ์ กิจกรรมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ และสามารถส่งเสริมพัฒนาการ ด้านใดด้านหนึ่งหรือพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ให้กับเด็กปฐมวัย

สื่อการสอนระดับปฐมวัย
                สื่อเป็นหัวใจของการจัดกิจกรรมการเตรียมความพร้อม เพื่อให้การศึกษาของเด็กในระดับปฐมวัยได้มีบทบาทต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กในอนาคต ในการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กน้อยมีความจำเป็นที่จะต้องใช้สื่อ เพราะสื่อให้เด็กเข้าใจถึงสถานการณ์จริง เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เด็กได้พัฒนาศักยภาพของตนได้เต็มที่ และช่วยพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านต่างๆให้เด็กด้วย

คุณค่าของสื่อการสอน
2.  สื่อกับผู้สอน
               1.  สื่อกับผู้เรียน
                สื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญและคุณค่าต่อผู้เรียนดังนี้                 
                -  เป็นสิ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยาก     ซับซ้อนได้ง่ายขึ้นในระยะเวลาอันสั้น 
                -  สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความเข้าใจให้กับผู้เรียนทำให้เกิดความรู้สนุกสนาน
                -  การใช้สื่อจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกัน  และช่วยให้เกิดประสบการณ์ร่วมกันในวิชาที่เรียน
                -  สื่อช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน ทำให้เกิดมนุษยสัมพันธ์อันดีในระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองและกับผู้สอนด้วย
                -  สร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์จากการใช้สื่อเหล่านี้
                -  ช่วยแก้ปัญหาเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยการจัดให้มีการใช้สื่อในการศึกษารายบุคคล          
 สื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญและคุณค่าต่อผู้สอนดังนี้
                -  การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆประกอบการเรียนการสอน  เป็นการช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้นทำให้ผู้สอนมีความกระตือรือร้นในการสอนมากกว่าวิธีการที่เคยใช้การบรรยายแต่เพียงอย่างเดียว  
                -  ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหาเพราะสามารถนำสื่อมาใช้ซ้ำได้  และบางอาจให้นักศึกษาเนื้อหาจากสื่อได้เอง
                -  เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมและผลผลิตวัสดุและเรื่องราวใหม่ๆเพื่อใช้เป็นสื่อการสอน  ตลอดจนคิดค้นเทคนิควิธีการต่างๆ  เพื่อให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น

การจัดประเภทของสื่อ
1.  การแบ่งตามแหล่งที่มาของสื่อ
1.1 สื่อที่เป็นบุคคล
1.2 สื่อที่มาจากสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ
1.3 สื่อที่ต้องจัดทำขึ้น
1.4 สื่อที่จัดซื้อจัดหา
2.  การแบ่งตามคุณลักษณะ
2.1  สื่อการสอนประเภทวัสดุ
2.2  สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
2.3  สื่อการสอนประเภทวิธีการ
                3.    การแบ่งตามรูปร่างลักษณะของสื่อ
                       3.1 ภาพนิ่ง
                       3.2 การบันทึกเสียง
                       3.3 ภาพเคลื่อนไหว
                       3.4 โทรทัศน์
                       3.5 ของจริง สถานการณ์จำลอง และหุ่นจำลอง
                       3.6 การสอนแบบโปรแกรมและคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
                4.    การแบ่งตามลักษณะการนำสื่อไปใช้
                       4.1 ประสบการณ์ตรง
                       4.2 ประสบการณ์รอง
                       4.3 ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง
                       4.4 การสาธิต
                       4.5 การศึกษานอกสถานที่
                       4.6 นิทรรศการ
                       4.7 โทรทัศน์
                       4.8 ภาพยนตร์
                       4.9 การบันทึกเสียง  วิทยุ  ภาพนิ่ง
                       4.10  ทัศนสัญลักษณ์
                       4.11 วจนสัญลักษณ์

ลักษณะสื่อที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัย
1. มีความปลอดภัย
- ทำด้วยวัสดุที่ไม่เป็นพิษต่อเด็ก, พื้นผิวของวัตถุเรียบ ไม่มีเสี้ยน
2. คำนึงถึงผลประโยชน์ที่เด็กได้รับ
- เร้าให้เด็กอยากรู้อยากเห็น, กระตุ้นพัฒนาการ ,ประโยชน์ต่อกล้ามเนื้อ
3. ความประหยัด
- ค่าใช้จ่ายในการผลิตไม่สูงมากเกินไป, ประหยัดในแง่ของวัสดุ เช่น ใช้วัสดุเหลือใช้
4. ด้านประสิทธิภาพ
- ใช้ได้หลายอย่าง หลายโอกาส,ให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง,มีคุณภาพดีเช่น ภาพชัดเจน
หลักการใช้สื่อการสอน
                    ภายหลังจากที่ผู้สอนได้เลือกและตัดสินใจแล้วว่าจะใช้สื่อประเภทใดในการสอน
              ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากการถ่ายทอดเนื้อหาของสื่อนั้นได้ดีที่สุดผู้สอนจำเป็นต้องมี
                    หลักในการใช้สื่อการสอนตามลำดับดังนี้
   1.เตรียมตัวผู้สอนเป็นการเตรียมตัวในการอ่าน ฟังหรือดูเนื้อหาที่อยู่ในสื่อที่จะใช้ว่ามี เนื้อหาถูกต้อง ครบถ้วน  และตรงกับที่ต้องการใช้หรือไม่
   2.เตรียมจัดสภาพแวดล้อม โดยการจัดเตรียมวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ให้พร้อมตลอดจนจัดเตรียมสถานที่ห้องเรียนให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม
    3.เตรียมพร้อมผู้เรียน เป็นการเตรียมตัวผู้เรียนโดยมีการแนะนำหรือให้ความคิดรวบยอดว่าเนื้อหาในสื่อนั้นเป็นอย่างไร เพื่อให้ผู้เรียนเตรียมพร้อมในการฟัง ดูหรืออ่านบทเรียน
    4.การใช้สื่อ ผู้สอนต้องใช้สื่อให้เหมาะสมกับขั้นตอนที่เตรียมไว้แล้วเพื่อให้ดำเนินการสอนไปได้อย่างราบรื่น และต้องควบคุมการเสนอสื่อให้ถูกต้อง
     5.การติดตามผล หลังจากที่มีการเสนอสื่อแล้ว ควรมีการติดตามผลโดยการให้ผู้เรียนตอบคำถาม อภิปราย หรือเขียนรายงานมาส่ง

ขั้นตอนการใช้สื่อ
1.เตรียมตัวครู
2.เตรียมตัวเด็ก
3.เตรียมสื่อ
การเสนอสื่อ
1. สร้างความพร้อมและเร้าความสนใจให้เด็กก่อนการจัดกิจกรรมทุกครั้ง
2. ใช้สื่อตามลำดับขั้นของแผนการจัดกิจกรรมที่กำหนดไว้
3. ควรอยู่ด้านข้างหรือด้านหลังของสื่อที่ใช้ ไม่ควรยืนหันหลังให้เด็ก
4. ไม่ควรให้เด็กเห็นสื่อหลายๆชนิดพร้อมกัน
5. เปิดโอกาสให้เด็กได้ร่วมกิจกรรมในการใช้สื่อนั้น
6. ควรสังเกต หรือให้ความสนใจกับคำถาม คำพูดของเด็กขณะใช้สื่อประกอบกิจกรรม
ประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
ประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอนในการใช้ประกอบการเรียนการสอนมีดังนี้
1. ช่วยให้นักเรียนรับรู้ แจ่มแจ้งชัดเจนขึ้น
2. ช่วยให้นักเรียนสนใจในบทเรียนมากขึ้นเพราะสื่อการเรียนการสอนจะเร้าความสนใจ ทำให้ผู้เรียนกระตือรือร้นในเรื่องที่เรียน และมีส่วนร่วมในการเรียน
3. ช่วยประหยัดเวลาเรียน โดยใช้เวลาน้อย แต่นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้น
3. ลดการบรรยายของผู้สอน แต่ช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น
4. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความประทับใจ และจดจำได้นาน
5. ช่วยให้การเรียนมีประสิทธิภาพขึ้น
6. ส่งเสริมการคิดและแก้ปัญหาในการเรียนรู้
7. ทำให้นักเรียนเกิดการอยากรู้อยากเห็น เพราะเป็นการให้ข้อเท็จจริง
8. ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาความคิด
9. สะดวกในการสอนของครู
10. สามารถสัมผัสและรับรู้ได้โดยง่าย
11. เป็นเครื่องมือสำหรับครูในการวินิจฉัยผลการเรียน และช่วยในการสอสซ่อมเสริม
12. ครูสามารถสอนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้กว้างมากขึ้น
13. ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีภายในชั้นเรียนผู้สอนสนุกสนานไปกับการสอน ทำให้ผู้เรียนมีชีวิตชีวา
14. ช่วยให้ครูมีความเชื่อมั่นมากขึ้นเพราะครูบางคนพูดไม่เก่ง ในการใช้อุปกรณ์หรือสื่อต่าง ๆ ทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้สอน
15. สื่อการเรียนการสอนจะช่วยในการสื่อความหมายระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมมากขึ้น
16. สามารถใช้กับคนกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อยหรือรายบุคคลในสถานที่ต่างกันได้


การประเมินการใช้สื่อ
                การประเมินการใช้สื่อควรพิจารณาจากองค์ประกอบ 3 ประการ คือ ครูผู้ใช้สื่อ เด็กและสื่อ เพื่อจะได้ทราบว่าสื่อนั้นช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ได้มากน้อยเพียงใด จะได้นำมาปรับปรุงการผลิตแลการใช้สื่อให้ดียิ่งขึ้น โดยใช้วิธีสังเกตดังนี้
1. สื่อนั้นช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพียงใด
2. เด็กชอบสื่อชนิดนั้นเพียงใด
3. สื่อช่วยให้การสอนนั้นสอนได้ตรงกับจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ ที่ตั้งไว้หรือไม่ และถูกต้อง         ตามเนื้อหาหรือไม่ มีความทันสมัยเพียงใด
4. สื่อนั้นช่วยให้เด็กสนใจมากน้อยเพียงใด และสนใจเพราะเหตุใด

การเก็บรักษาและซ่อมแซมสื่อ ดำเนินการดังนี้
1. เก็บสื่อให้เป็นระเบียบและเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะประเภทของสื่อ
2. ฝึกให้เด็กหยิบสื่อออกมาใช้ได้เองและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
3. ฝึกให้เด็กรู้ความหมายของรูปภาพหรือสีที่เป็นสัญลักษณ์แทนหมวดหมู่ประเภทของสื่อ เพื่อเด็กจะได้เก็บเข้าที่ได้ถูกต้อง
4. ตรวจสอบสื่อหลังจากที่ใช้แล้วทุกครั้งว่ามีสภาพสมบูรณ์ จำนวนครบถ้วนหรือไม่
5. ซ่อมแซมสื่อชำรุดและทำเติมส่วนที่ขาดหายไปให้ครบชุด การพัฒนาสื่อ การพัฒนาสื่อเพื่อใช้ประกอบการจัดกิจกรรมในระดับก่อนประถมศึกษานั้น ก่อนอื่นควรได้สำรวจข้อมูลสภาพปัญหาต่าง ๆ ของสื่อทุกประเภทที่ใช้อยู่ว่ามีอะไรบ้างที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข เพื่อจะได้ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับความต้องการ

แนวทางการพัฒนาสื่อ ควรมีลักษณะเฉพาะดังนี้
      1. ปรับปรุงสื่อให้ทันสมัยเข้ากับเหตุการณ์ ใช้ได้สะดวก ไม่ซับซ้อนเกินไป เหมาะสมกับวัยของเด็ก
      2. รักษาความสะอาดของสื่อถ้าเป็นวัสดุที่ล้างน้ำได้เมื่อใช้แล้วควรได้ล้างเช็ด หรืปัดฝุ่นให้สะอาดเก็บไว้ เป็นหมวดหมู่ วางเป็นระเบียบ หยิบใช้ง่าย
      3. ถ้าเป็นสื่อที่ผู้เลี้ยงดูเด็กผลิตขึ้นมาใช้เองและผ่านการทดลองใช้มาแล้ว ควรเขียนคู่มือประกอบการใช้สื่อนั้น โดยบอกชื่อสื่อ ประโยชน์และวิธีใช้ รวมทั้งจำนวนชิ้นส่วนของสื่อในชุดนั้น และเก็บคู่มือไว้ในซองหรือถุงพร้อมสื่อที่ผลิต
       4. พัฒนาสื่อที่สร้างสรรค์ ใช้ได้อเนกประสงค์ คือเป็นได้ทั้งสื่อเสริมพัฒนาการ และเป็นของเล่นสนุกสนานเพลิดเพลิน

                                                                            
                                                                             ตัวนับเลข 1-10



ให้เด็กนำตัวลูกคิดมาใส่ที่แท่งไม้ ให้มีค่าเท่ากับจำนวนเลข
ฝึกเด็กในด้านการนับเลข 1- 10 ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการในการนับเลข


กระดานกลิ้งน่ารู้




ให้เด็กถือกระดาน และกลิ้งลูกปัดไปที่ต่างๆบนกระดาน
เมื่อเด็กกลิ้งไปหยุดตรงไหน ก็ให้เด็กดูเลขและจำนวนรูปภาพ
ช่วยให้เด็กรู้ค่าของจำนวนเลข และได้พัฒนากล้ามเนื้อตาและมือให้สัมพันธ์กันด้วย